เรือพรากความสมบูรณ์ของท้องทะเล
การจะออกเรือหาปลาทั้งทีใครๆ ก็ต้องการปลาปริมาณที่มากๆ และขายได้ราคาดี แน่นอนว่าการมีเครื่องมือดีก็ช่วยในการทำมาหากินที่ดีและความสะดวกสบายก็มีชัยไปกว่าครึ่ง การใช้เรืออวนลากโดยเพียงแค่ลากอวนก็สามารถจับปลาได้หลายร้อยตัว
ทว่าในจำนวนหลายร้อยตัวนั้นมันมีปลาที่เราต้องการและไม่ต้องการอยู่ด้วย ปลาที่ต้องการเราก็เก็บไว้ ส่วนที่ไม่ต้องการอาจจะทิ้งหรือเก็บรวมๆ ไปชั่งกิโลขาย
ซึ่งส่วนใหญ่ปลาที่เราไม่ต้องการนั้นจะเป็นปลาตัวเล็กที่ยังไม่โตเต็มวัย ปลาที่มีขนาดเล็กราคาไม่ดีเท่ากับปลาที่โตเต็มวัยแน่นอน แต่ปลาตัวเล็กๆที่จับมานั้นในอนาคตมันเองก็จะกลายเป็นปลาตัวใหญ่หากมันไม่พลาดท่าโดนเราจับขึ้นมาเสียก่อน ไม่ใช่มีเพียงแค่ปลาที่เราต้องดูแต่ยังรวมถึงระบบนิเวศท้องทะเลอีกด้วย

ผืนน้ำมหาสมุทรกว้างใหญ่แหล่งทรัพยากรระบบนิเวศที่มีมากมาย จนเราเองอาจจะไม่คิดว่ามันจะมีวันหมดสิ้นไปได้ การเจริญเติบโตของปลาจะหมุนเวียนในระบบนิเวศท้องทะเล แต่ถ้ามันถูกทำลายด้วยฝีมือของมนุษย์อย่างเรา สิ่งมีชีวิตที่ต้องอาศัยระบบนิเวศหน้าดินท้องทะเล ไม่ว่าจะปลา หอย กุ้ง ปะการัง สิ่งมีชีวิตทุกอย่างก็จะค่อยๆ หายไป การกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งจำเป็นต้องคำนึงถึงผลประโยชน์และผลกระทบที่ตามมา เปรียบเทียบง่ายๆ ภาพที่เห็นชัดเจนโดยที่เราไม่ต้องดำน้ำดูเพื่อความเข้าใจ เมื่อเราตัดต้นไม้เพื่อไปทำโยชน์อื่นๆนั้น ก็จะต้องมีการปลูกทดแทน ระบบนิเวศท้องทะเลก็เช่นกัน ใช้ก็ต้องรักษาและดูแลร่วมกัน หากเลือกที่จะใช้ทรัพยากรธรรมชาติของโลกใบนี้เราเองก็ควรที่จะต้องช่วยกันดูแล
การหาปลาไม่ใช่เรื่องผิดหรือต้องห้าม แต่การใช้เรืออวนลาก อวนรุน หรืออวนล้ม ไม่เพียงจะทำลายระบบนิเวศหน้าดินเสียหายแต่ยังมีทั้งหาการหาปลา การจับปลาเป็นการลากอวนแล้วช้อนปลาขึ้นมา แต่การทำแบบนั้นมันจะทำให้เราได้ปลาตัวน้อยที่ยังไม่โตเติบวัยขึ้นมาด้วย เรืออวนลากถือว่าเป็นเครื่องมือที่ทำลายหน้าดินในระบบนิเวศทางทะเลมากที่สุดเหมือนกับถูกไถกวาดหน้าดิน เพราะลากตั้งแต่พื้นทะเลไปจนถึงผิวน้ำ ซึ่ง 2 ใน 3 ของสัตว์น้ำที่จับมา ทว่าเรืออวนรุนจะดันหน้าดินขณะเคลื่อนที่ไปข้างหน้า โดยการทำประมงแบบนี้จะอยู่ในช่วงระดับความลึกไม่เกิน 15 เมตร จึงเหมาะกับบริเวณชายฝั่งแต่นั้นก็หมายความว่าหากเราใช้บริเวณชายฝั่งจนหมดไปในวันข้างหน้าการออกหาปลาเราจะต้องออกไปไกลมากกว่าเดิม
ปัจจุบันได้มีกฎหมายพ.ร.บ. การประมงตัวใหม่นั้นได้ออกมาในช่วงกลางปี 2560 เป็นหนึ่งสิ่งที่ช่วยการปกป้องระบบนิเวศท้องทะเลได้ระดับหนึ่งแต่ไม่ใช่ทั้งหมด เพราะหากเราจะเปลี่ยนใจชาวประมงให้เลิกใช้เรืออวนลากคงจะเป็นเรื่องที่ยาก การเปลี่ยนแปลงในบางสิ่งก็จะต้องใช้เงินเป็นเดิมทุนแล้วเราก็ทำงานเพื่อหาเลี้ยงปากท้องของเราและครอบครัว การที่จะเปลี่ยนก็จะต้องมีหลักประกัน เหมือนหากต้องการไม่เรากินข้าวจานนั้นก็ควรจะมีอาหารจานสำรองให้กับเรา นั้นคือสิ่งที่ชาวประมงต้องการจากรัฐบาลหรืออาจจะมีวิธีอื่นที่เป็นทางแก้ปัญหาถึงแม้จะไม่ได้ช่วยทั้งหมดแต่มันก็ยังมีให้เราได้มีทรัพยากรคงอยู่กับเราไปอีกนาน
ถ้าหากเราหาปลาในที่เดิมซ้ำๆ เชื่อได้เลยว่าระบบนิเวศตรงนั้นคงจะไม่มีการฟื้นตัวและทำให้ไม่มีปลาในที่สุด การออกหาปลาในแต่ละครั้งเราควรจะหมุนเวียนตำแหน่งการหาปลา เพื่อที่ระบบนิเวศในส่วนที่เราหาปลาไปแล้วนั้น ได้มีการฟื้นตัวและทำให้เราได้วนกลับมาหาปลาได้อีกครั้งทำแบบนี้ราก็จะมีแหล่งที่หาปลาอยู่เรื่อยๆ และไม่หมดไป นอกจากนี้อุปกรณ์ก็เป็นสิ่งสำคัญ อวนตาข่ายที่ใช้ดักปลาหากมันถี่มากไปเราก็จะได้ปลาที่มีขนาดเล็กติดมาด้วยซึ่งถ้าลองเพิ่มขนาดของอวนตาข่ายล่ะ ปลาที่จำได้ก็จะเป็นปลาตัวใหญ่ส่วนปลาตัวเล็กที่อาจจะหลงติดเขามาก็จะสามารถวาดหนีออกไปจากอวนที่มีอวนตาข่ายกว้าง เพื่อที่ในวันข้างหน้ามันจะโตเต็มวัยให้เราได้จับอีกครั้ง หากลองสมมุติ ถ้า 1 กิโลให้ราคา 100 บาท ปลาที่โตเต็มวัย 1 ตัวมีน้ำหนัก 1 กิโลก็เท่ากับว่าปลานั้นตัวละ 100 บาท แต่เมื่อเทียบกับปลาที่ยังไม่โตเต็มวัยกว่าจะรวมมันให้ได้ครบ 1 กิโล เราก็เสียปลาที่จะโตเต็มวัยในวันข้างหน้ามันไม่คุ้มค่าต่อการจับมา สู้เราปล่อยให้เขาโตเต็มที่แล้วค่อยจับมาขายในราคาดีๆ แบบนี้ไม่ดีกว่าหรือ และยังช่วยให้ระบบนิเวศของเรานั้นได้คงอยู่เพื่อรุ่นลูกรุ่นหลายด้วย
เมื่อไรที่เราหมดสิ้นปลาให้จับในเวลานั้นเราคงไม่อยากจะคิดถึงเลยล่ะว่าเราจะอยู่อย่างไร ระบบนิเวศในน้ำที่ไม่มีสิ่งมีชีวิตจะลำบากมากเพียงได้ ปลาจะกลายเป็นของที่หายากและราคาแพง นอกจากจะทำให้ชาวประมงไม่มีอาชีพและตกงาน มันอาจจะทำให้คนไม่มีปลาได้กินกัน เราอาจจะรักษาให้ทุกอย่างนั้นมีเหมือนเดิมไม่ได้ แต่เราจะต้องรักษาเพื่อให้มันคงอยู่และมีให้เราได้ในทุกวัน เป็นเรื่องยากแน่นอนถ้าหากเราจะต้องเปลี่ยนแปลงใหม่ทั้งหมด แต่ถ้าเราค่อยๆ เข้าใจปรับตัว คำนึงถึงผลประโยชน์ในทุกๆ ด้าน มองเป็นเหมือนเรื่องที่ไกลตัวแต่อาหารที่เรากินกันอยู่ทุกวัน เมื่อมองแบบนั้นก็คงไม่ใช่เรื่องไกลตัวแล้วเพราะมันคือเรื่องปากท้องของมนุษย์โลก อีกทั้งสัตว์ร่วมโลกเราอาศัยที่โลกใบนี้ร่วมกัน เราจำเป็นต้องรับผิดชอบในสิ่งที่เราทำ
เรื่อง: ภัทรวดี หอมรอด